สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนจะออกแบบโรงพยาบาล สถานพยาบาล

ว่าด้วยเรื่องของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล โดยเฉพาะถ้าอยากมีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง อยากออกแบบโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์จะต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ซึ่งโรงพยาบาลมีหลากหลายประเภทแต่แบบไหนหล่ะที่ใช่สำหรับคุณ? 

1.โรงพยาบาลแบบไหน ที่ใช่สำหรับคุณ

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าข้อกำหนดต่าง ๆ นา ๆ ของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขมีอะไรบ้าง ข้อกำหนดไปทางแนวทางไหน เราสามารถทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง จากนั้นจึงค่อยตัดสินใจว่าเราจะเป็นสถานพยาบาลในรูปแบบใด เช่น เปิดรับผู้ป่วยค้างคืนหรือไม่รับค้างคืน, ให้บริการเฉพาะทางหรือทั่วไป, มีการรับคนไข้ฉุกเฉินไหม หรือ ต้องการเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็ก, กลางหรือใหญ่ ข้อกำหนดของกองประกอบโรคศิลปะและกำลังของเรา(รวมถึงความต้องการ) จะกำหนด Direction ของสถานพยาบาลเราให้ไปในแบบที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด

2. จำนวนเตียง ตัวกำหนดขนาดสถานพยาบาล

หลายๆคนสงสัยใช่ไหมว่าโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเนี่ย ต้องมีกี่เตียง? ตามความจริง ตามกฎหมายกำหนด หรือตามข้อกำหนดต่างๆ เขียนไว้ว่า สถานพยาบาลขนาดเล็กมีจำนวนเตียงไม่เกิน 30 เตียง ซึ่งหมายความว่า 1 เตียงก็สามารถเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กได้แล้ว แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า มีรั้วรอบขอบชิด, รถฉุกเฉินเข้าออกสะดวก, อยู่เป็นเอกเทศไม่รวมกับอาคารอื่น, หากเป็นโรงพยาบาลต้องรับผู้ป่วยค้างคืนได้ ในขณะที่สถานพยาบาลอื่นอย่างเช่นคลินิกไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยค้างคืน 

3.บริการอีกหนึ่งตัวกำหนดขนาดสถานพยาบาล 

แน่นอนว่าการให้บริการให้สถานพยาบาลจะเป็นตัวกำหนดของขนาดสถานพยาบาลเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลในประเทศไทยก็มีหลายภาคส่วน ทั้งโรงพยาบาลรัฐ, เอกชน, คลินิกเฉพาะทาง ประเภทของโรงพยาบาลก็เรื่องหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือสิทธิต่างๆ ที่จะเป็นอีกตัวเลือกของผู้ใช้บริการ เช่น โรงพยาบาลที่ใช้สิทธิประกันสังคม, บัตรทอง, หรือใช้สิทธิประกันบริษัทต่างๆได้ จะออกแบบต่างจากโรงพยาบาลประเภท FFS หรือ Fee For Service แค่พูดถึงเรื่องจ่ายเองกับใช้สิทธิได้ก็เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนแล้ว การออกแบบหลายๆอย่าง ก็จะต่างกันไปด้วยตามจำนวนผู้ใช้บริการนั่นเองครับ 

4.ผังสี ตัวกำหนดพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้จริง

ในทุกประเทศทั่วโลกจะมีกฏหมายผังเมืองไว้เพื่อเขตต่างๆในท้องที่ เพื่อกำหนดพื้นที่และการดูแลง่ายขึ้น โดยจะแบ่งโดยสีเป็น 9 เขต เพื่อให้ง่ายต่อการจำแนกแยกประเภท ดูแลทั้งพื้นที่และความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่สามารถสร้างสถานพยาบาลได้เลยทันที แต่ต้องดูผังสีด้วยว่าสามารถสร้างได้หรือไม่ บางพื้นที่อาจจะสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้เลยแต่บางพื้นที่จะสร้างได้เฉพาะสหคลินิกเท่านั้น 

สรุป  เมื่อพูดถึงการไปโรงพยาบาลแล้ว เป็นที่ที่ไม่ค่อยจะมีใครอยากไปสักเท่าไหร่ถ้าแม้แต่หมอเองก็ตาม (ก็มันหน้าที่นี่เนอะ) เพราะพูดถึงแล้วก็จะเห็นอะไรก็ตามที่เราไม่ชอบ ทั้งการบริการ ความวุ่นวาย คนเยอะ ๆ พื้นที่แออัด ไหนจะการออกแบบที่ไม่ได้คิดถึงผู้ใช้บริการสักเท่าไหร่ แต่ในปัจจุบันก็มีการ มีการออกแบบสมัยใหม่ให้ดูไม่แออัด ดูเฉพาะทางมากขึ้น รวมถึงการแตกแขนงไปเป็นคลินิกเฉพาะทาง เช่นคลินิกหัตถกรรม อาคารบริการผู้ป่วย อาคารกายภาพ ฯลฯ เพื่อลดข้อจำกัดข้างต้น และไม่ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกไม่ดีต่อสถานพยาบาลนั่นเอง 

EM Design เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบโรงพยาบาล ที่ยึดแนวคิดของโรงพยาบาลสมัยใหม่ เข้ามาในแนวทางการออกแบบ เรามีผลงานเด่นหลายผลงานยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลน่านราม, โรงพยาบาลวิภาราม อ่อนนุช, โรงพยาบาลรามคำแหง 2, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม 2 และอาคารรังสีรักษา, อาคารฟอกไต โรงพยาบาลเชียงราย ราม

Project ref : https://www.emdesign.co.th/portfolio/project-reference/

EM Design : บริการการออกแบบและบริหารโครงการ

Tel : 088-088-0025

E-mail : contect@em.co.th

Line : @emdesign